วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

ประวัติครูดนตรีไทย

พระยาเสนาะดุริยางค์


พระยาเสนาะดุริยางค์ เป็นบุตรคนโตของครูช้อย และนางไผ่ สุนทรวาทิน ได้ฝึกฝนวิชาดนตรี จากครูช้อย ผู้เป็นบิดา จนมีความแตกฉาน ต่อมาเจ้าพระยาเทเวศน์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว. หลาน กุญชร) ได้ขอตัวมาเป็นนักดนตรีในวงปี่พาทย์ของท่าน ท่านเข้ารับราชการ เมื่อ พ.ศ. 2422 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ?ขุนเสนาะดุริยางค์? ในปี พ.ศ. 2446 ตำแหน่งเจ้ากรมพิณพาทย์หลวงจึงโปรดให้เลื่อนเป็น?หลวงเสนาะดุริยางค์?ในปีพ.ศ.2453ในตำแหน่งเดิมจนถึงสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว โปรดให้เลื่อนเป็น ?พระเสนาะดุริยางค์? รับราชการในกรมมหรสพหลวง และได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ด้วยความซื่อสัตย์ และมีความจงรักภักดี ท่านจึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ?พระยาเสนาะดุริยางค์? ในปี พ.ศ. 2468
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านได้รับมอบหมายให้ควบคุมวงพิณพาทย์ของเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ม.ร.ว. ปุ้ม มาลากุล) เสนาบดีกระทรวงวัง วงพิณพาทย์วงนี้ นับได้ว่าเป็นการรวบรวมผู้มีฝีมือ ซึ่งต่อมาได้เป็นครูผู้ใหญ่ เป็นที่รู้จักนับถือโดยทั่วไป เช่น ครูเทียม คงลายทอง ครูพริ้ง ดนตรีรส ครูสอน วงฆ้อง ครูมิ ทรัพย์เย็น ครูแสวง โสภา ครูผิว ใบไม้ ครูทรัพย ์นุตสถิตย ์ครูอรุณ กอนกุล ครูเชื้อ นักร้อง และครูทองสุข คำศิริพระยาเสนาะดุริยางค ์ ถึงแก้อนิจกรรมในปี พ.ศ. 2492 เมื่อมีอายุได้ 83 ปี

พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์)


พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เป็นบุตรคนโตของขุนกนกเรขา (ทองดี)กับนางนิ่ม เกิดเมื่อ วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2403 ตรงกับวันอังคาร ณ บ้านเลขที่ 81 ตรอกไข่ ถนนบำรุงเมือง ตำบลหลังวัดเทพธิดา กรุงเทพมหานคร ท่านได้เรียนปี่ชวากับครูชื่อ ?หนูดำ? ส่วนวิชาดนตรีปี่พาทย์อย่างอื่น ได้ศึกษาอย่างจริงจังกับครูช้อย สุนทรวาทิน (บิดาของพระยาเสนาะดุริยางค์) จนบรรลุแตกฉาน ท่านเข้ารับราชการ ตั้งแต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระยศเป็นพระยุพราช ได้ทูลขอพระราชทานบรรดาศักดิ์จาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้นายแปลกเป็นที่?ขุนประสานดุริยศัพท์"นับจากนั้นก็ได้ รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์มาเป็นลำดับ จนได้เป็นที่ ?พระยาประสานดุริยศัพท์? เจ้ากรมปี่พาทย์หลวง ในสมัยรัชกาลที่ 6 ความรู้ความสามารถของพระยาประสานดุริยศัพท์นั้น เป็นที่กล่าวขวัญเรื่องลือว่า ท่านเป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วยฝีมือ ความรู้ ปฏิภาณ ไหวพริบ ท่านเป็นครู และเป็นศิลปินที่หาได้ยากยิ่ง เมื่อปี พ.ศ.2428 ท่านได้รับเลือกให้ไปร่วมฉลองครบรอบร้อยปี ของพิพิธภัณฑ์เมืองอวิมปลีย์ที่ประเทศอังกฤษผลของการบรรเลงขลุ่ยของท่านเป็นที่พอ พระราชหฤทัย ของสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียเป็นอย่างยิ่งถึงกับรับสั่งขอฟังเพลงขลุ่ยเป็นการส่วนพระองค์ในพระราชวังบัคกิ้งแฮมอีกครั้ง การบรรเลงครั้งหลังนี้สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย ทรงลุกจากที่ประทับและใช้พระหัตถ์ลูบคอพระยาประสานฯพร้อมทั้งรับสั่งถามว่า เวลาเป่านั้นหายใจบ้างหรือไม่ เพราะเสียงขลุ่ยดังกังวานอยู่ตลอดเวลาพระยาประสานดุริยศัพท์ ได้แต่งเพลงไว้ดังนี้คือ เพลงเชิดจั่น 3 ชั้น พม่าหัวท่อน เขมรราชบุรี ลาวคำหอม ลาวดำเนินทราย เขมรทรงดำเนิน (เขมรกล่อมพระบรรทม) เขมรปากท่อ เขมรใหญ่ ดอกไม้ไทร
ถอนสมอ ทองย่อน เทพรัญจวน นารายณ์แปลงรูป แมลงภู่ทอง สามไม้ใน อาถรรณ์ คุณลุงคุณป้า พราหมณ์เข้าโบสถ์ ธรณีร้องไห้ มอญร้องไห้ แขกเห่ อนงค์สุดา วิเวกเวหา แขกเชิญเจ้า ย่องหวิด 3 ชั้น เป็นต้น
ความสามารถทางดนตรีของท่านนั้น ทำให้ท่านมีลูกศิษย์ที่มีความสามารถเป็นทวีคูณขึ้นไป และศิษย์ของท่านเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปคือ พระประดับดุริยกิจ (แหยม วิณิณ) พระเพลงไพเราะ (โสม สุวาทิต) หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) หลวงบรรเลงเลิศเลอ (กร กรวาทิน) พระยาภูมิเสวิน (จิตร จิตตเสรี) อาจารย์มนตรี ตราโมท ครูเฉลิม บัวทั่ง เป็นต้น
พระยาประสานดุริยศัพท์ ป่วยโดยโรคชรา และถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ 105 ปี ในปี พ.ศ. 2467

หลวงประดิษฐไพเราะ



หลวงประดิษฐไพเราะ เป็นบุตรของ นายสิน นางยิ้ม ศิลปบรรเลงเนื่องจากบิดาคือครูสินเป็นเจ้าของวงปี่พาทย์ และเป็นศิษย์ของพระประดิษฐไพเราะในปี พ.ศ. 2443 ขณะเมื่ออายุ 19 ปี ท่านได้แสดงฝีมือเดี่ยวระนาดเอกถวายสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช เป็นที่ต้องพระทัยมาก จึงทรงรับตัวเข้ามาไว้ที่วังบูรพาภิรมย์ ทำหน้าที่คนระนาดเอก ประจำวงวังบูรพาไปด้วย พร้อมกับสมเด็จท่านได้ เชิญครูมาสอนที่วัง คือ พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เนื่องจากจางวางศร ได้รับพระกรุณาจากสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยา ภาณุพันธุ์วงศ์วรเดช เป็นอย่างมาก ทรงจัดหาครูที่มีฝีมือมาฝึกสอน ทำให้จางวางศรมีฝีมือกล้าแข็งขึ้นในสมัยนั้นไม่มีใครมีฝีมือเทียบเท่าได้เลย จางวางศร ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็นหลวงประดิษฐไพเราะ ในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2468 ทั้งๆ ที่ท่านไม่เคยรับราชการอยู่ในกรมกองใดมาก่อน ทั้งนี้ก็เพราะฝีมือและความสามารถของท่าน เป็นที่ต้อง พระหฤทัยนั่นเอง
ครั้นถึงปี พ.ศ.2469 ท่านได้เข้ารับราชการในกรมปี่พาทย์และโขนหลวงกระทรวงวังท่านได้มีส่วนถวายการสอนดนตรีให้กับ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า รำไพพรรณีพระบรมราชิน ีรวมทั้งมีส่วนช่วยงานพระราชนิพนธ์เพลงสามเพลง คือเพลงราตรีประดับดาว เถา เพลงเขมรละออองค์ เถา และเพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง สามชั้น หลวงประดิษฐไพเราะ ได้แต่งเพลงไว้มากกว่า ร้อยเพลง ดังนี้

เพลงโหมโรง โหมโรงกระแตไต่ไม้ โหมโรงปฐมดุสิต โหมโรงศรทอง โหมโรงประชุมเทวราช โหมโรงศรทอง โหมโรงประชุมเทวราช โหมโรงบางขุนนท์ โหมโรงนางเยื้อง โหมโรงม้าสยบัดกีบ และโหมโรงบูเซ็นซ๊อค เป้นต้น
เพลงเถา อาทิ กระต่ายชมเดือน เถา ขอมทอง เถา เขมร เถา เขมรปากท่อ เถา เขมรราชบุรี เถา แขกขาว เถา แขกสาหร่าย เถา แขกโอด เถา
จีนลั่นถัน เถา ชมแสงจันทร์ เถา ครวญหา เถา เต่าเห่ เถา นกเขาขแมร์ เถา พราหมณ์ดีดน้ำเต้า เถา มุล่ง เถา แมลงภู่ทอง เถา ยวนเคล้า เถา ช้างกินใบไผ่ เถา ระหกระเหิน เถา ระส่ำระสาย เถา ไส้พระจันทร์ เถา ลาวเสี่งเทียน เถา แสนคำนึง เถา สาวเวียงเหนือ เถา สาริกาเขมร เถา โอ้ลาว เถา ครุ่นคิด เถา กำสรวลสุรางค์ เถา แขกไทร เถา สุรินทราหู เถา เขมรภูมิประสาท เถา แขไขดวง เถา พระอาทิตย์ชิงดวง เถา กราวรำ เถา ฯลฯ
หลวงประดิษฐไพเราะ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2497 รวมอายุ 73 ปี

พระประดิษฐไพเราะ


พระประดิษฐไพเราะ นามเดิม มี ดุริยางกูร เกิดตอนปลายรัชกาลที่1แห่งพระราชวงศ์จักรีท่านเป็นครูดนตรีมาตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 จนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 นั้น ครูมีแขกได้เป็นครูปี่พาทย์ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นที่ หลวงประดิษฐไพเราะ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายนพ.ศ.2396 ตำแหน่งปลัดจางวางมหาดเล็กว่าราชการกรมปี่พาทย์ ฝ่ายพระบวรราชวัง ในปีเดียวกันนั้นเองท่านได้แต่งเพลงเชิดจีน แล้วนำขึ้นทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด้จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นที่สมพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่งจึงโปรดให้เลื่อนบรรดาศักดิ์จากหลวงเป็นพระ
พระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางกูร) ได้รับสมญาว่าเป็นเจ้าแห่งเพลงทยอย เพราะผลงานเพลงลูกล้อลูกขัด เช่น ทยอยนอก ทยอยเขมร ล้วนเป็นผลงานของท่านทั้งนั้น
ผลงานของพระประดิษฐไพเราะ (ครูมีแขก) เท่าที่รวบรวมและปรากฎไว้ มีดังนี้
โหมโรงขวัญเมือง การะเวกเล้ก สามชั้น กำสรวลสุรางค์ สามชั้น แขกบรรทศ สามชั้น แขกมอญ สามชั้น แขกมอญบางช้าง สามชั้น ทะแย สามชั้น สารถี สามชั้น พญาโศก สามชั้น และสองชั้น พระอาทิตย์ชิงดวง สองชั้น จีนขิมใหญ่ สองชั้น เชิดจีน ทยอยนอก ทยอยเดี่ยว ทยอยเขมร เทพรัญจวน หกบท สามชั้น อาเฮีย สามชั้น
ท่านถึงแก่กรรม ประมาณรัชกาลที่ 5

พระพิณบรรเลงราช (แย้ม ประสานศัพท์)

พระพิณบรรเลงราช (แย้ม ประสานศัพท์) เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2408 เป็นน้องชายแท้ๆของพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เมื่อเยาว์วัย ท่านได้เรียนดนตรีกับครูช้อย สุนทรวาทิน เนื่องจากท่านเป็นนักดนตรีฝีมือดี พระยาประสานดุริยศัพท์ ได้พาเข้าถวายตัวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 และย้ายมาสังกัดกรมมหรสพ เป็นมหาดเล็กวิเสส แล้วเลื่อนเป็น ขุนพิณบรรเลงราช ในปี พ.ศ. 2453 เป็นหลวงพิณบรรเลงราช ในปีพ.ศ. 2457 และเป็น พระพิณบรรเลงราช ในปี พ.ศ. 2462 พระะพิณบรรเลงราช มีฝีมือในทางดนตรี โดยเฉพาะฝีมือตีกลอง เป็นที่โปรดปรานของเจ้านายในสมัยนั้นเป็นอย่างยิ่ง ท่านได้ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2480 รวมอายุได้ 73 ปี

พระพาทย์บรรเลงรมย์ (พิมพ์ วาทิน)

พระพาทย์บรรเลงรมย์ (พิมพ์ วาทิน) เป็นนักดนตรีอยู่ในกรมมหรสพ ในสมัยรัชกาลที่ 6 เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2420 เข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ยังทรงดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เมื่อพระองค์ท่านเสด็จขึ้นครองราชแล้ว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้งให้เป็น ขุนพาทย์บรรเลงรมย์ ในปี พ.ศ. 2453 เป็นหุ้มแพรหลวงพาทย์บรรเลงรมย์ ในปี พ.ศ. 2455 ต่อมาท่านเข้ามาเป็นศิษย์ในกรมมหรสพ ของพระยาประสานดุริยศัพท์ และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระพาทย์บรรเลงรมย์ เมื่อปี พ.ศ. 2465 นอกจากนั้นท่านยังมีฝีมือทางด้านตีเครื่องหนังดีมาก นอกเหนือจากเครื่องดนตรีอื่นๆ

หลวงไพเราะเสียงซอ

หลวงไพเราะเสียงซอ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2435 ที่ตำบลหน้าไม้ อำเภอเสนา จังหวัดอยุธยา บิดาชื่อ พยอม มารดาชื่อเทียม ท่านเริ่มศึกษาวิชาดนตรี โดยเรียนสีซอด้วงจากบิดา ต่อมาท่านเข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ในสมเด็จพระบรมโอสารธิราชฯ รับราชการในกองดนตรีเมื่อ พ.ศ. 2448 ครั้นสมเด็จพระบรมฯ เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัว มหาดเล็กทั้งปวงซึ่งเป็นข้าหลวงเดิม ก็ปรับตำแหน่งหน้าที่ราชการเข้าเป็นทำเนียบมหาดเล็กประจำ ท่านจึงได้รับยศเป็นมหาดเล็กวิเสสต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แปรพระราชฐาน จะต้องมีวงดนตรีตามเสด็จ จนได้รับพระราชทานยศเป็น ?รองหุ้มแพร? มีบรรดาศักดิ์เป็นที่ ?ขุนดนตรีบรรเลง? และในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2460 ท่านก็ได้รับเลื่อน บรรดาศักดิ์เป็นที่ หลวงไพเราะเสียงซอ ในสมัยรัชกาลที่ 6 นั้น หลวงไพเราะเสียงซอได้สอนวงดนตรีเครื่องสายของ สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี พระวรราชเทวี วงพระสุจริตสุดา และวงพระยาอนิสุทธาทวา เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 7 ท่านได้ถวายการสอน เจ้านายในวงเครื่องสาย ซึ่งประกอบด้วย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี กรมหมื่นอนุพงศ์จักรพรรดิ์ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ มจ. ถาวรมงคล และมจ.แววจักร จักรพันธ์ นอกจากนั้นยังได้ถวายการสอนให้กับ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล และข้าหลวงในวังอีกด้วย ต่อมากรมศิลปากรได้เชิญท่านให้สอนประจำที่วิทยาลัยนาฎศิลป์และสุดท้ายท่านยังได้สอนและปรับปรุงวงดนตรีไทย
ของสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อีกแห่งหนึ่ง จนทำให้วงดนตรีไทยของธรรมศาสตร์ เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในเวลาต่อมา
หลวงไพเราะเสียงซอ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2518 ณ โรงพยาบาลศิริราช รวมอายุได้ 84 ปี

หลวงชาญเชิงระนาด (เงิน ผลารักษ์)

หลวงชาญเชิงระนาด เป็นนักระนาดคนสำคัญในสมัย ร.6 เป็นบุตรของนาย นาค และนางขาบ ผลารักษ์ เกิดเมื่อ พ.ศ.2438 ท่านเริ่มหัดดนตรีกับบิดาที่บ้านในย่านตำบลบางกอกน้อย ซึ่งเป็นย่านนักดนตรีที่ย้ายถิ่นฐานจากกรุงศรีอยุธยา ตามสมเด็จพระเจ้าตากสิน จึงถือได้ว่าท่านเป็นนักดนตรีเชื้อสายกรุงเก่า เมื่ออายุ 10 ปี ในปี พ.ศ. 2448 ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ 6 ทรงดำรงยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมารในสมัยรัชการที่ 5 ได้เป็นศิษย์ของพระยาประสารดุริยศัพท์มาตั้งแต่ต้น เมื่ออายุ 15 ปี ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นมหาดเล็กวิเสสแผนกพิณพาทย์หลวง แล้วเลื่อนเป็นนายรองสนิท กลับมาอยู่กรมมหรสพในปี พ.ศ. 2456 เป็นขุนสนิทบรรเลงการเป็นหลวงสนิทบรรเลงการ ในปี พ.ศ.2460 พระบาทสมเด็จพระมงกฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า เป็นผู้มีฝีมือ และชั้นเชิงในการตีระนาดเป็นที่ต้องพระราชอัธยาศัยยิ่งนัก จึงได้พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงชาญเชิงระนาด
หลวงชาญเชิงระนาด ได้ชื่อว่าเป็นผู้ตีระนาดเพลงละครได้ไพเราะมาก ท่านป่ายเป็นวัณโรค และะถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2484 ก่อนน้ำท่วมใหญ่รวมอายุได้ 50 ปี

ขุนบรรเจิดปี่เสนาะ (เทียม สาตรวิลัย)

ขุนบรรเจิดปี่เสนาะ (เทียม สาตรวิลัย) เกิดเมื่อ พ.ศ. 2425 รับราชการอยู่ในกรมโขน ตำแหน่งมหาดเล็กเวรฤทธิ์ ในรัชกาลที่ 5 เมื่ออายุได้ 22 ปี ได้ย้ายมาสังกัดอยู่ในกองพิณพาทย์ หลวงในหน้าที่พนักงานเครื่องเป่า และรับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ขุนบรรเจิดปี่เสนาะ เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2460 ไม่ทราบปีที่ท่านถึงแก่กรรม

หลวงบรรเลงเลิศเลอ (กร กรวาทิน)


หลวงบรรเลงเลิศเลอ (กร กรวาทิน) เกิดเมื่อ พ.ศ. 2522 เริ่มเรียนดนตรีมาตั่งแต่อายุ 11 ปี กับวงปี่พาทย์วัดน้อยทองอยู่ ของท่านสมภารแแสง เจ้าอาวาสในขณะนั้น ซึ่งมีครูช้อย สุนทรวาทินเป็นผู้สอนและควบคุมวง ต่อมาวงปี่พาทย์วัดน้อยทองอยู่ได้เข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กเรือนนอก ของสมเด็จพระพันปีหลวง (พระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ) จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะะดำรงพระยศ เป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช มีพระราชประสงค์ จะมีวงปี่พาทย์ไว้เป็นการส่วนพระองค์ จึงทรงขอวงปี่พาทย์วงนี้ จากสมเด็จพระพันปีหลวง พร้อมด้วยนักดนตรีอีก 5 ท่านคือ (1) นายนาค วัฒนวาทิน ต่อมาได้บรรดาศักดิ์เป็นหลวงพวงสำเนียงร้อย (2) นายเพิ่ม วัฒนวาทิน ต่อมาได้บรรดาศักดิ์เป็น หลวงสร้อยสำเนียงสน (3) นายแหยม วีณิน ต่อมาได้บรรดาศักดิ์เป็น พระประดับดุริยกิจ (4) นายบุศย์ วีณิน ต่อมาได้บรรดาศักดิ์เป็น ขุนเพลิดเพลงประชัน ซึ่งทำให้หลวงบรรเลงเลิศเลอ ได้เข้ามารับราชการอยู่ในวงเป็นลูกศิษย์ของครูแปลก ประสานศัพย์ด้วย และในปี พ.ศ. 2458 จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นที่ ขุนบรรเลงเลิศเลอ รับกราชการอยู่ในกรมมหรสพ และเลื่อนเป็นหลวงบรรเลงเลิศเลอ ในปี พ.ศ. 2466 เครื่องดนตรีที่ท่านถนัดที่สุดคือ ปี่ใน
ท่านถึงก่กรรมในปี พ.ศ. 2521 เมื่ออายุได้ 99 ปี

ครูบุญยงค์ เกตุคง


ครูบุญยงค์ เกตุคง เป็นบุตรชายคนใหญ่ของ นายเที่ยง นางเขียน เกตุคง เกิดเมื่อวันอังคาร เดือน 4 ปีวอกตรงกับเดือนมีนาคม พุทธศักราช 2463 ที่ตำบลวันสิงห์ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร บิดามารดาของครู มีอาชีพเป็นนักแสดง ซึ่งต้องย้าย สถานที่ประกอบอาชีพบ่อยๆ เมื่อยังเยาว์จึงอาศัยอยู่กับตาและยายที่ จังหวัดสมุทรสาคร ได้รับการศึกษาชั้นต้นที่วัดช่องลม และเริ่มหัดเรียนดนตรีไทยกับครูละม้าย(หรือทองหล่อ) ซึ่งเป็นครูสอนดนตรี อยู่บ้านข้างวัดหัวแหลม จังหวัดสมุทรสาคร

เมื่ออายุได้ 10 ปีก็สามารถบรรเลงฆ้องวงทำเพลงโหมโรงเช้า และโหมโรงเย็นได้ ซึ่งถือว่าได้ผลการศึกษาดนตรีขั้นต้น

ครั้นอายุได้ 11 ปี บิดาได้นำไปฝากให้เป็นศิษย์ของครู หรั่ง พุ่มทองสุข ซึ่งเป็นครูดนตรีมีชื่ออยู่ที่ปากน้ำภาษีเจริญ โดยมีน้องชาย ชื่อ บุญยัง เกตุคง ไปร่วมเรียนด้วย และได้เป็นเพื่อนร่วมเรียนดนตรีพร้อมกับ นายสมาน ทองสุโชติ ได้เรียนอยู่ที่บ้านครูหรั่งนี้ประมาณ 2 ปี จนสามารถบรรเลงเดี่ยวฆ้องวงเล็กได้ ก็ย้ายไป เรียนดนตรีกับพระอาจารย์เทิ้ม วัดช่องลม จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งเป็นสถานที่เรียนดนตรี ที่มีชื่อเสียงมากอีกแห่งหนึ่งในยุคนั้น
เมื่อครูอายุได้ 16 ปี บิดาเห็นว่ามีความรู้เพลงการดีพอสมควรจะช่วยครอบครัวได้ จึงช่วยให้ไปทำหน้าที่นักดนตรีประจำคณะนาฎดนตรีของบิดา ซึ่งแสดงเป็นประจำอยู่ที่วิกบางลำภู กรุงเทพมหานคร โดยเริ่มจากคนตีฆ้องวงใหญ่ แล้วจึงได้เป็นคนตีระนาดเอก ทั้งนี้ได้รับการฝึกสอนเป็นพิเศษจากอาชื่อ นายประสิทธิ์ เกตุคง ให้มีความรู้เรื่องเพลงสองชั้นที่ลิเกให้ร้อง เป็นประจำจึงมีความรู้และไหวพริบดีมากขึ้น ในเรื่องเพลงประกอบการแสดง เป็นที่ทราบกันว่า ย่านบางลำภูนั้น เป็นที่ใกล้ชิดกับบ้านนักดนตรีไทยหลายบ้าน โดยเฉพาะบ้านของสกุล ดุริยประณีต ซึ่งมีนายชื้นและนายชั้น ดุริยประณีต บุตรชายของครูสุข ดุริยประณีต มาช่วยบิดาครูบุญยงค์ตีระนาดประกอบการแสดงลิเกเป็นครั้งคราว จึงได้สนิทสนมไปมาหาสู่กันจนเกิด ความคุ้นเคยเป็นอันมาก ได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ทางเพลงกันมากขึ้นเป็นลำดับ
ต่อจากนั้น ครูบุญยงค์ ได้เดินทางไปเรียนดนตรีจากครูเพชร จรรย์นาฎย์ ครูดนตรีไทยฝีมือดีและเป็นศิษย์ที่มีชื่อเสียงของท่านครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)
ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เมื่อปี พ.ศ. 2485 เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในกรุงเทพมหานคร การแสดงดนตรีซบเซาลง ครูจึงให้เวลาว่างประกอบอาชีพแจวเรือจ้างอยู่ระยะหนึ่ง แล้วไปสมัครเป็นศิษย์ท่านครูจางวางทั่ว พาทยโกศล ณ บ้านดนตรีวัดกัลยาณมิตร ธนบุรี จึงได้เรียนรู้ทางเพลงทั้งทางฝั่งพระนคร และทางฝั่งธน เป็นอย่างดี เมื่อน้ำลดแล้ว ครูจึงได้เรียนดนตรีเพิ่มเติมอีกจาก ครูสอน วงฆ้อง ซึ่งช่วยสอนดนตรีอยู่ที่บ้านดุริยประณีตนั้น
สมัยที่ พลโทหม่อมหลวงขาบ กุญชร เป็นอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ครูบุญยงค์ เกตุคง ได้สมัครเข้าเป็นนักดนตรีประจำวงดนตรีไทยของกรมประชาสัมพันธ์ ทำให้ได้ใกล้ชิดกับนักดนตรี อีกหลายคน
อาทิ ครูประสงค์ พิณพาทย์ และ ครูพุ่ม บาปุยะวาทย์ ซึ่งเป็นหัวหน้าวงดนตรีไทยอยู่ในขณะนั้น
ในระหว่างที่ใกล้จะเกษียณอายุราชการ ครูบุญยงค์ได้ร่วมมือกับอาจารย์บรูซ แกสตัน ก่อตั้งวงดนตรีไทยร่วมสมัย ชื่อ ?วงฟองน้ำ? ขึ้น

ครูบุญยงค์ เกตุคง ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. 2539 สิริรวมอายุได้ 76 ปี ได้รับยกย่องสรรเสริญว่าเป็น ?ระนาดเทวดา? เพราะมีฝีมือบรรเลงระนาดเอกได้ยอดเยี่ยมที่สุดคนหนึ่ง ในยุคสมัยเดียวกัน

ผลงานของครูบุญยงค์ เกตุคง

1. ผลงานประพันธ์เพลง
1.1 ประเภทเพลงโหมโรง มีอยู่ด้วยกันหลายเพลงอาทิ เพลงโหมโรงสามสถาบัน โหมโรงสามจีน และโหมโรงจุฬามณี เป็นต้น
1.2 ประเภทเพลงเถา ได้แก่เพลงเงี้ยวรำลึกเถา เพลงทยอยเถา ชเวดากองเถา เริงเพลงเถา กัลยาเยี่ยมห้อง เป็นต้น
1.3 เพลงประกอบการแสดง ตระนาฏราชและ เพลงระบำต่างๆที่ประกอบในละคร
1.4 เพลงเดี่ยวทางต่างๆ ได้แก่ ทางเดี่ยวระนาดเอก 3 ราง เพลงอาหนู และเพลงอาเฮีย ฯลฯ
1.5 เพลงประกอบภาพยนตร์และโทรทัศน์ เงาะป่า
1.6 เพลงร่วมสมัย เจ้าพระยา คอนแชร์โต้ เพลงผสมต่างๆ ของวงฟองน้ำ

2. ผลงานการแสดง
เป็นเจ้าของและหัวหน้าคณะนาฏดนตรีแสดงทางวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ชื่อคณะเกตุคงดำรงศิลป์

3. ผลงานบันทึกเสียง
3.1 แผ่นเสียงของวังสวนผักกาด อำนวยการโดย ม.ร.ว. พันธุ์ทิพย์ บริพัตร เพลงชุด Drum of Thailand ทำหน้าที่เป็นผู้บรรเลงระนาดเอก
3.2 เพลงมุล่ง เดี่ยวระนาดเอก แผ่นเสียงตรามงกุฏ
3.3 บันทึกผลงานเพลงโหมโรงและเพลงเถา ในหัวข้อ1.1,1.2 ข้างต้น ในโครงการ "สังคีตภิรมย์"ของธนาคารกรุงเทพ และเก็บผลงานไว้ที่ศูนย์สังคีตศิลป์ และผลงานของวงดนตรีฟองน้ำ

4. งานเผยแพร่ต่างประเทศ

4.1 ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
4.2 สหรัฐอเมริกา และแคนาดา 2529 Exposition เยอรมัน 2525 ฮ่องกง 2525 (ฟองน้ำ)
4.3 มโหรีราชสำนัก อังกฤษ 2529-2530

5. รางวัล

5.1 ถ้วยทองคำ นาฏดนตรี
5.2 โล่เกียรตินิยม พระราชทาน ร.9

ครูเฉลิม บัวทั่ง


ครูเฉลิม บัวทั่ง เป็นบุตรของนายปั้น และนางถนอม บัวทั่ง เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน 9 แรม 9 ค่ำปีจอ วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2453
ครูเฉลิม บัวทั่ง ได้ชื่อว่าเป็นคนระนาดเอกฝีมือดีเยี่ยมคนหนึ่ง ครูได้รับเสนอชื่อให้ได้รับพระราชทานโล่เกียรติยศจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในฐานะนักดนตรีไทยตัวอย่าง ซึ่งมีนักดนตรีไทยที่ได้รับพระราชทานโล่ครั้งนี้ เพียง 4 คน คือ อาจารย์มนตรี ตราโมท ครูเฉลิมบัวทั่ง คุณหญิงไพฑูรย์ กิตติวรรณ และครูบุญยงค์เกตุคง
ผลงานการแต่งเพลงของครูมีมากมาย เช่น โหมโรงสรรเสริญพระจอมเกล้า โหมโรงพิมานมาศ โหมโรงมหาปิยะ โหมโรงรามาธิบดี ลาวลำปางใหญ่เถา ลาวลำปางเล็กเถา ลาวกระแซะเถา ลาวครวญเถา ดอกไม้เหนือเถา เคียงมอญรำดาบเถา เขมรใหญ่เถา ลาวสอดแหวนเถา ประพาสเภตราเถา

นอกจากนั้น ในปี พ.ศ. 2525 ครูได้แต่งเพลงเข้าประกวดรางวัลพินทองของธนาคารกสิกรไทย ชื่อเพลง ปิ่นนคเรศเถา ได้รับบรางวัลชนะเลิศอีกด้วย
ในปี พ.ศ. 2529 ครูได้รับเชิดชูเกียรติ เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย)

ครูเสียชีวิตด้วยโรงมะเร็งในปอด เมื่อ 11 มิถุนายน 2530 รวมอายุได้ 77 ปี


ขุนฉลาดฆ้องวง (ส่าน ดูรยาชีวะ)


ขุนฉลาดฆ้องวง เป็นชาวจังหวัดนนทบุรี เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พศ. 2428 ได้เข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็กเวรฤทธิ์ ขณะเมื่ออายุ 18 ปี ในกรมมหรสพ สมัยรัชกาลที่ 5 เรียนระนาดจากเจ้าคุณเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทำหน้าที่คนระนาดเอก และ ระนาดทุ้ม ในแผนกพิณพาทย์หลวงกรมมหรสพ ได้ตำแหน่งพันจ่าเด็กชา แล้วเลื่อนเป็นมหาดเล็กสำรอง ในตอนปลายสมัยรัชกาลที่ 6 ตำแหน่ง ?ฉลาดฆ้องวง? ว่างอยู่ จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ขุนฉลาดฆ้องวง เมื่อวันที่ 29 มกราคม พศ. 23464 ทั้งๆที่ไม่ได้ทำหน้าที่คนตีฆ้องแต่ประการใด
ท่านถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 3 กันยายน พศ.2511 รวมอายุได้ 83 ปี

ครูช้อย


ครูช้อย เป็นบุตรของครูทั่ง ครูดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคต้นรัตนโกสินทร์ เมื่อตอนเล็กๆ ตาบอดเพราะเป็นไข้ทรพิษ แต่ครูมีความสามารถทางดนตรีได้ โดยมิได้ร่ำเรียนอย่างจริงจัง ครูช้อยสามารถตีระนาดเอกนำวงได้โดยไม่ผิดตกบกพร่อง จนทำให้บิดาซึ่งแต่เดิมไม่ได้สนใจถ่ายทอดวิชาให้เพราะเห็นว่าตาบอด ในที่สุดบิดาได้ทุ่มเทถ่ายทอดวิชาการดนตรีให้ ต่อมาในบรรดาศิษย์ของครูช้อยนั้นก็มีพระยาเสนาะดุริยางค ์(แช่ม สุนทรวาทิน) เจ้ากรมพิณพาทย์หลวงในรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นบุตรของครูช้อย และพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เจ้ากรมพิณพาทย์หลวงในรัชกาลที่ 6 นักดนตรีไทยสองคนเท่านั้นที่ได้มีบรรดาศักดิ์ เป็นถึงชั้นพระยาทางดนตรีไทย นอกนั้นศิษย์ของครูช้อยก็มีอีกหลายคน เช่น พระประดับดุริยกิจ (แหยม วีณิน) หลวงบรรเลงเลิศเลอ (กร กรวาทิน)

ผลงานของครูช้อย สุนทรวาทิน ถือเป็นสมบัติอันมีค่ายิ่งนักดนตรีทุกคนต้องรู้จักเช่นเพลงแขกลพบุรี โหมโรงครอบจักรวาล โหมโรงมะลิเลื้อย ม้าย่อง อกทะเล แขกโอด ใบ้คลั่ง เขมรปี่แก้วเขมรโพธิสัตว์ เทพรัญจวน พราหมณ์เข้าโบสถ์ ฯลฯ

ยังไม่พบหลักฐานว่าท่านถึงแก่กรรมเมื่อใด


ครูมนตรี ตราโมท


ครูมนตรี ตราโมท เกิดที่จังหวัดสุพรรณบุรี เริ่มหัดฆ้องใหญ่เมื่ออายุ 15 ปี กับครูสมบุญ สมสุวรรณ ต่อมาจึงเรียนดนตรีที่กรุงเทพ กับพระยาประสาน ดุริยศัพท์ เรียนฆ้องใหญ่กับหลวงบำรุงจิตเจริญ เรียนระนาดทุ้มกับพระพาทย์บรรเลงรมย์ ต่อมาเรียนกับหลวงประดิษฐไพเราะ
เมื่ออายุประมาณ 18 ปี ครูแต่งเพลง "ต้อยตลิ่ง" และได้แต่งเพลงไว้เป็นจำนวนมาก

ครูเทียบ


ครูเทียบ คงลายทองเกิดที่หลังวัดกัลยาณมิตร ฝั่งธนบุรี เริ่มหัดดนตรีตั้งแต่อายุ 12-13ปี ตอนแรกเริ่มหัดฆ้องใหญ่กับคุณปู่ ต่อมาเปลี่ยนมาเล่นเครื่องเป่า
โดยหัดปี่ชวากับบิดา หลังจากนั้นได้เป็นศิษย์ของพระยาเสนาะดุริยางค์ ครูรับราชการในกรมมหรสพ ซึ่งต่อมาเป็น กรมปี่พาทย์หลวง ตั้งแต่อายุ 22 ปี จนเกษียรอายุ

ครูประเวช กุมุท



ครูประเวช กุมุท เกิดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2466 ที่ตำบลคานหามอำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เริ่มการศึกษาระดับประถมศึกษาที่ โรงเรียนวัดคานหาม จึงได้เข้าศึกษาที่โรงเรียน ดำเนินศึกษา ถนนราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร จนจบชั้น ม1จึงได้ย้ายไปศึกษาต่อจนจบชั้นสูงสุดที่โรงเรียนนาฎดุริยางค์ (วิทยาลัยนาฎศิลป์กรมศิลปากร) และศึกษาต่อจนจบเตรียม ธรรมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาลตร์และการเมือง
ครูประเวชกุมุท ได้ชื่อว่าเป็นคนเรียนดนตรีได้ว่องไว มีความจำ และมีฝีมือดี มาตั้งแต่ยังเรียนชั้นประถมศึกษา ครูเริ่มเรียนขับร้องเพลงไทย และเพลงพื้นบ้านจากบิดาซึ่งเป็นครูคนแรก ตั้งแต่อายุ 6 ขวบ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ ครูมีพื้นฐานทางดนตรีที่ดีตลอดมา ครูอายุ 12 ปี ก็สามารถสีซอด้วง ซออู้และ ตีขิมได้อย่างไพเราะ จนกระทั่งเข้าเรียน ที่โรงเรียนนาฎดุริยางค์ กรมศิลปากร

เมื่ออายุ 14 ปี ได้รับถ่ายทอดวิชาดนตรีเครื่องสายจาก ครูมี พูลเจริญ ครูโสภณ ซื่อต่อชาติ

เมื่อครูอายุ 17 ปี ได้เรียนวิชาเครื่องสายไทยจาก ครูปลั่ง วนเขจร และเรียนจะเข้กับ นางสนิท บรรเลงการ (ครูละเมียด จิตตเสวี) และเรียนซอสามสายจากครูอนันต์ ดูรยชีวิน บุตรชายของคุณพ่อหลวงไพเราะเสียงซอ จนในที่สุด ครูก็สามารถรับวิชาการและเทคนิคการสีซอทุกรูปแบบ และถ่ายทอดเพลงเดี่ยว นานาชนิดจากคุณพ่อหลวงไพเราะ เสียงซอ จนจบสิ้น นับเป็นสุดยอดของวงการเครื่องสายไทยทีเดียว แม้แต่ในวงปี่พาทย์ ครูก็สามารถบรรเลงได้รอบวงอีกด้วย นอกจากนั้นทางด้านการขับร้อง ครูก็ได้รับการถ่ายทอดวิชาการขับเสภา
การขับร้อง จากครูเหนี่ยว ดุริยะพันธ์ และครูแช่มช้อย ดุริยะพันธ์

ในชีวิตราชการของครูประเวช กุมุท ครูเริ่มรับราชการในวิทยาลัยนาฎศิลป์ กรมศิลปากร ตั้งแต่ 2486-2490 จึงโอนย้ายไปสังกัดแผนกดุริยางค์ไทย กองการสังคีต กรมศิลปากร และลาออกจากกรมศิลปากรในปี 2507 แล้วเข้าทำงานที่ธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นผู้ฝึกสอน และหัวหน้าวงดนตรีไทยของธนาคารไทยพาณิชย์ พุทธศักราช 2515 ครูได้รับเลือกเป็น
สมาชิกสมัชชาแห่งชาติในฐานะผู้เชี่ยวชาญทางด้าน ศิลปการแสดงดนตรีไทย ในปี 2522 ครูกลับเข้ารับราชการอีกครั้งในฐานะผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย ประจำที่วิทยาลัยนาฎศิลป์ จังหวัดเชียงใหม่ จนถึงปี 2525 จึงได้ลาออก และได้รับเชิญจาก คุณคทาวุธ อินทรทูต ผู้อำนวยการฝ่ายสาขา ของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด สำนักงานใหญ่เข้าทำงานเป็น พนักงานประจำ จนเกษียรอายุในปี 2529 ทำหน้าที่สอนพิเศษ และที่ปรึกษาของชมรมดนตรีไทย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตลอดมา

ผลงานทางด้านศิลปะแขนงต่างๆ

1.ประพันธ์บทละครเรื่องเอกราชสุโขทัย ประกวดได้รับรางวัลที่1

2.ประพันธ์บทละครรำ เรื่องรถเสน ตอนชนไก่แสดงที่โรงละครแห่งชาติ

3.ประพันธ์บทละครวิทยุเรื่องประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา เพื่อออกอากาศทางวิทยุ กรมประชาสัมพันธ์ หลายสิบตอนติดต่อกัน

4.แต่งแพลงแขกเล่นกล(เถา) ในปี พ.ศ.2524 โดยขยายจากทำนองสองชั้นเพลง เขมรเป่าใบไม้ และใช้บทร้องจากพระราชนิพนธ์เรื่องพระร่วงมอบให้วงดนตรีไทย ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ

5.ประดิษฐ์ขิมแผ่น ซึ่งทำด้วยอลุมิเนียมจนสามารถเป็นที่นิยมบรรเลงร่วมกับวงเครื่องสายจนถึงปัจจุบัน

ครูประเวช กุมุทได้ฝากผลงานบันทึกเสียงและแผ่นเสียงทั้งในฐานะนักร้องและในฐานะนักดนตรีไว้เป็นอันมาก อาทิเช่น ร้องเพลงเชิดจีนร่วมกับ ครูอุษา สุคันธมาลัย เพลงโสมส่องแสง สามชั้น เพลงเขมรละออองค์ เถา เพลงเห่เรือแบบต่างๆ เพลงลาวเสี่ยงเทียน เถา เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง เพลงลาวครวญ เพลงลาวดวงเดือน เพลงม้าย่อง ขับเสภาร่วมกับครูเหนี่ยว ดุริยะพันธ์ เพลงตับเรื่องกากี เพลงนกขมิ้น โดยมีครูเทียบ คงลายทอง เป็นผู้เดี่ยวขลุ่ย ทั้งหมดนั้นเป็นผลงานการบันทึกแผ่นเสียงของครู ในฐานะนักคนตรี ครูได้บันทึกแผ่นเสียงไว้หลายเพลง
เช่น เดี่ยวซอสามสาย เพลงบุหลันลอยเลื่อน และเพลงทะแย แผ่นกรมศิลปากร เดี่ยวซอด้วง เพลงอาถรรพ์ สองชั้น แผ่นเสียงตรามงกฏ สีซอด้วงในวงเครื่องสาย เพลงชุดตับจูล่ง ขับร้องโดย ครูเหนี่ยว ดุริยะพันธ์ แผ่นเสียง ตรา ?น? ฯลฯ
ครูได้ก่อตั้งวงดนตรีไทยไว้ดังนี้คือ คณะกุมุทวาทิต คณะเวชชศิลป์ และคณะจิตตเสวี เพื่อออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียง และก่อตั้งวงดนตรีคณะ ศิษย์หลวงไพเราะเสียงซอ ร่วมกับพนักงานธนาคาร กรุงเทพฯพาณิชย์การเป็นวงสุดท้ายในปี พ.ศ. 2532 คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ิได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติให้ครูประเวช กุมุท เป็นศิลปินแห่งชาติ
สาขาศิลปะการแสดง(ดนตรีไทย) เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2532 เข้ารับพระราชทาน โล่ และเข็มเชิดชูเกียรติจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐานพระราชวังดุสิต
ครูประเวช กุมุท อุทิศร่างกายให้กับโรงพยาบาลสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 รับพระราชทานรดน้ำศพใน วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน เวลา 17.00 น. ณ. วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร และมอบร่างกายครู ให้กับโรงพยาบาล เพื่อเป็น ?อาจารย์ใหญ่? แด่นักศึกษาแพทย์ ไว้ศึกษาต่อไป

ครูเลื่อน


ครูเลื่อน นับเป็นปูชนียบุคคลสำคัญของนักศึกษาและครูอาจารย์ในภาควิชาดนตรี บ้านสมเด็จฯ ท่านอุทิศกำลังกายกำลังใจในการสั่งสอนวิชาดนตรีไทยแก่ศิษย์บ้านสมเด็จอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อย ครูเลื่อนเป็นธิดาคนที่ 2 ของพระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) และคุณหญิงเสนาะดุริยางค์ (เรือน) เกิดเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2453 มีพี่สาวชื่อเลียบ และน้องสาวชื่อเจริญ (อาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน) บ้านเดิมอยู่บริเวณสระน้ำวิทยาครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ปัจจุบันได้ย้ายไปอยู่ในซอยวัดประดิษฐารามหรือวัดมอญ ครูเลื่อนสมรสกับนายมิ่ง ผลาสินธุ์ มีบุตร 5 คน
ด้านการศึกษา ครูจบชั้นมัธยมปีที่ 6 จากโรงเรียนศึกษานารี และเรียนดนตรีกับบิดาที่บ้านโดยเริ่มจากการฝึกซออู้ ขลุ่ย จะเข้
พ.ศ.2503 ครูเลื่อนได้สอบบรรจุเป็นข้าราชการครู และได้รับการบรรจุที่โรงเรียนศรีอินทราทิตย์ จังหวัดสุโขทัย อยู่ที่นั่น 5 ปีก็ย้ายไปอยู่โรงเรียนบ้านสวน จังหวัดเดียวกัน และสุดท้ายย้ายไปประจำที่โรงเรียนหร่ำวิทยานุกูล จังหวัดปราจีนบุรี อยู่ที่นี่จนเกษียณอายุราชการ
พ.ศ.2526 วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้เชิญครูมาเป็นอาจารย์พิเศษฝ่ายขับร้องไทย สอนนักศึกษาดนตรีไทย ประจำภาควิชาดนตรี ท่านเสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2550 สิริอายุ 97 ปี 9 เดือน

พระเพลงไพเราะ(โสม สุวาทิต)


ครูโสม เกิดที่ฝั่งธนบุรี เริ่มเรียนระนาดลิเกจากน้าชาย จากนั้นได้เข้าร่วมเป็นนักดนตรีในกองดนตรีของสมเด็จพระบรม (รัชกาลที่ 6) เป็นคนตีระนาดหน้าฉากเวลาละครเปลี่ยนฉาก มีฝีมือในทางระนาดเป็นเยี่ยม ถึงขนาดเคยตีเอาชนะนายชิน ชาวอัพวา ซึ่งเป็นระนาดมือหนึ่งในสมัยนั้นมาแล้ว

นอกจากนั้นยังสามารถตีรับลิเกในเพลงที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนได้ด้วย จนพระยาประสานดุริยศัพท์ชมว่า "โสมแกเก่งมาก ครูเองยังจนเลย"
ครั้งหนึ่งเคยได้ตีระนาดเพลงกราวในถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 เมื่อครั้งทรงพระประชวรให้บรรทม ครั้นตื่นพระบรรทมก็ทรงชมว่า "โสม เจ้ายังตีฝีมือไม่ตกเลย" นับว่าการตีปี่พาทย์ประกอบโขนละครในสมัยนั้น (รัชกาลที่ 5-7) ไม่มีใครสู้ครูโสมได้
ท่านได้บรรดาศักดิ์เป็นพระ เมื่อ พ.ศ.2460 และถึงแก่กรรมเพราะซ้อมระนาดหนักจนพักผ่อนไม่เพียงพอ และทานอาหารไม่เป็นเวลาจนเป็นโรคกระเพาะ รวมอายุได้ 49 ปี

จางวางทั่ว พาทยโกศล


จางวางทั่ว พาทยโกศล เกิดเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ.2424 เป็นบุตร หลวงกัลยาณมิตราวาส (ทับ พาทยโกศล) กับนางแสง ชาวกรุงเทพมหานคร(ฝั่งธนบุรี) บิดาเป็นนักดนตรีมีชื่อเสียงและเจ้าของวงพาทยโกศล ส่วนมารดาเป็นผู้มีฝีมือในการดีดจะเข้และเป็นครูสอนดนตรีในราชสำนักรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

จางวางทั่ว พาทยโกศล เริ่มเรียนดนตรีกับบิดา มารดา และครูทองดี ชูสัตย์ ต่อมาเรียนระนาดและฆ้องวงกับครูรอด จนเชี่ยวชาญ และยังได้เรียนกับครูต่วน ครูทั่ง ครูช้อย สุนทรวาทิน และพระยาประสานดุริยศัพท์(แปลก ประสานศัพท์) เรียนวิธีเรียบเรียงเสียงประสานกับจอมพลเรือ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ท่านเป็นผู้บรรเลงฆ้องวงเล็กประจำวงปี่พาทย์ฤาษีซึ่งเป็นวงปี่พาทย์พิเศษในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่โปรดให้บรรเลงหน้าพระที่นั่งอยู่เสมอ ทรงคัดเลือกเฉพาะผู้มีฝีมือมาประจำวง ได้แก่พระยาประสานดุริยศัพท์(แปลก ประสานศัพท์)(ปี่) หลวงประดิษฐ์ไพเราะ(ศร ศิลปบรรเลง)(ระนาดเอก) นายโถ(ฆ้องวงใหญ่) จางวางทั่ว พาทยโกศล(ฆ้องวงเล็ก) นายเหลือ วัฒนวาทิน(ระนาดทุ้ม) และนายเนตร (กลองสองหน้า) นอกจากนั้นยังเป็นผู้ควบคุมวงปี่พาทย์ของพลงเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ และวงวังบางขุนพรหม เป็นครูดนตรีประจำกองแตรวงทหารเรือและทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ และท่านได้สือบทอดวงพาทยโกศล ต่อจากบิดา ศิษย์ที่มีชื่อเสียง เช่น นายช่อ สุนทรวาทิน จ่าโทฉัตร สุนทรวาทิน นายละม้าย พาทยโกศล นายเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล นายทรัพย์ เซ็นพานิช จ่าสิบเอกยรรยงค์ โปร่งน้ำใจ พันตรีหลวงประสานดุริยางค์ (สุทธิ์ ศรีชยา) ร้อยเอกนพ ศรีเพชรดี นายเฉลิม บัวทั่ง

จางวางทั่ว พาทยโกศล เป็นผู้ที่มีฝีมือในการบรรเลงเครื่องดนตรีได้ทุกชนิดทั้งปี่พาทย์ เครื่องสาย และยังขับร้องได้ดีอีกด้วย ได้แต่งเพลงไว้จำนวนมาก ประเภทเพลงตับ ประเภทเพลงเถา ประเภททางเดี่ยว และทำทางบรรเลงสำหรับวงโยธวาทิตอีกมาก นอกจากนั้นยังได้นำวงปี่พาทย์บรรเลงบันทึกแผ่นเสียงไว้เป็นจำนวนมาก

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว


พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๔๒๓ ได้รับพระราชทานพระนาม สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ต่อมาทรงได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมารสืบแทนพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ซึ่งประชวรและเสด็จสวรรคตเมื่อทรงพระเยาว์

ครั้นสมเด็จพระปิยมหาราชเสด็จสรรคต ณ วันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๓ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะนั้นทรงมีพระชนมายุ ๓๑ พรรษา พระองค์ทรงครองราชย์ได้ ๑๕ พรรษา ก็ทรงพระประชวรโรคพระโลหิตเป็นพิษ เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๖๘ พระชนมายุ ๔๕ พรรษา ทรงมีพระราชธิดาองค์เดียวคือ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตน์ราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ประสูติก่อนพระองค์เสด็จสวรรคต เพียง ๒ ชั่วโมง
พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์เพลงไทย 3 เพลงด้วยกัน คือ เพลงคลื่นกระทบฝั่ง เพลงเขมรละออองค์(เถา) เพลงราตรีประดับดาว(เถา) และพระองค์ยังทรงบรรเลงดนตรีไทยได้ดีเลิศ
ผู้ที่ถวายคำแนะนำเรื่องทฤษฎีและปฏิบัติดนตรีไทยแด่พระองค์ท่าน คือ “หลวงประดิษฐ์ไพเราะ”(ศร ศิลปบรรเลง) ซึ่งพระองค์พระองค์เองก็ทรงมีความสามารถมาก ครั้งแรกทรงหัดซออู้ก่อน ไม่นานนักก็ทรงพระปรีชาสามารถพระราชทานคำแนะนำเรื่องการสีซอด้วงแก่สมเด็จพระบรมราชีนีได้ ทั้งๆที่ทางซออู้กับซอด้วงบรรเลงคนละวิธีกัน พระองค์ศึกษาอยู่ไม่นานนัก ก็ทรงพระราชนิพนธ์เพลงได้ดีดังกล่าวข้างต้น เพลงทั้ง 3 เพลงนี้มีความไพเราะเพราะพริ้งมาก

ครูเตือน พาทยกุล


ครูเตือน พาทยกุล เกิดที่จังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันเสาร์ เดือน 3 ขึ้น 3 ค่ำ ปีมะเส็ง ตรงกับพ.ศ.2448 เป็นบุตรของนายพร้อม กับนางตุ่น บิดาเป็นช่างทำทองและเป็นหัวหน้าวงปี่พาทย์ ครูมีน้องสาวชื่อ เติม แต่เสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็ก
ครูเตือนเริ่มเรียนดนตรีกับบิดาและปู่(ชื่อ แดง)ตั้งแต่อายุประมาณ 7 ปี หลังจากเรียนชั้นประถมปีที่ 4 แล้ว ขณะนั้นอายุประมาณ 10 ปี บิดาก็ฝากให้เรียนดนตรีเพิ่มกับท่านครูจางวางทั่ว พาทยโกศล นอกจาก 3 ท่านที่กล่าวมา ครูเตือนยังได้ไปเรียนดนตรีเพิ่มต่อจากครูอื่นๆอีกหลายท่าน คือ ครูต้ม พาทยกุล(ปู่) พระยาเสนาะดุริยางค์(แช่ม สุนทรวาทิน) พระยาภูมีเสวิน นายเทวาประสิทธิ พาทยโกศล ครูช่อ สุนทรวาทิน ครูแถม สุวรรณเสวก หลวงไพเราะเสียงซอ(อุ่น ดูรยะชีวิน) ครูเตือนมีความสามารถเล่นดนตรีได้รอบวง ในทางปี่พาทย์จัดว่าได้เรียนถึงระดับสูงสุดแล้ว โดยที่ถนัดสุดคือระนาดเอก
นอกจากนี้ ครูเตือนยังแต่งเพลงไว้หลายเพลง เช่นแขกมอญบางช้าง 2 ชั้นทางเปลี่ยน โหมโรงเพชรศรีอยุธยา นกจาก 2 ชั้น ลาวต่อนก เถา ลาวดำเนินทรายเที่ยวกลับ เป็นต้น
ครูเตือน พาทยกุล ถึงแก่กรรมด้วยโรคติดเชื้อในกระแสโลหิต เนื่องด้วยปอด เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๖ เวลา ๑๓.๔๐ น. ณ โรงพยาบาลศิริราช รวมสิริอายุได้ ๙๘ปี

คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง


คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง เกิดเมื่อวันอังคารที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๙ ปีมะเมีย ที่บ้านหน้าวังบูรพาภิรมย์ กรุงเทพฯ เป็นบุตรีของหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) และนางโชติ มีพี่น้องร่วมบิดา มารดา ๗ คน ความรู้วิชาชีพศิลปะด้านต่างๆ อาทิ วิชาการฝีมือเรียนกับคุณครูนิล และคุณหญิงศรีธรรมราช (เป้า วิมุกตายน), การเขียนลายกนกศิลปะลายไทย เรียนกับหลวงวิศาลศิลปกรรม, การดนตรี เรียนกับท่านบิดาคือ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง), เดี่ยวซอด้วง เรียนกับท่านครูพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์), ซอสามสาย เรียนกับเจ้าเทพกัญญา บูรณพิมพ์, ดนตรีสากล (ทฤษฎีโน้ตสากล) เรียนกับพระเจนดุริยางค์, คุณครูโฉลก เนตสูต, การขับร้องโน้ตสากล เรียนกับหลวงประสานบรรณวิทย์ และคุณครูนันทน์ ทรรทรานนท์, ไวโอลิน เรียนกับคุณครูกิจ สาราภรณ์, ได้รับมอบเป็นผู้อ่านโองการพิธีไหว้ครู จากท่านครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปะบรรเลง) ตั้งแต่ปี ๒๔๙๖ และสืบทอดจนตลอดชีวิตของท่าน
คุณหญิงชิ้นเป็นศิลปินสตรีไทยตัวอย่าง ที่ได้ใช้ความรู้ความสามารถในวิชาครูอันเป็นวิชาพื้นฐานที่ได้ศึกษามาผนวก กับทักษะวิชาการดนตรีไทยที่ได้เล่าเรียนสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ในสายสกุล “ศิลปบรรเลง” ผลงานการประพันธ์ทำนองและบทร้องเพลง เป็นจำนวนมากนอกจากจะนำไปใช้ในเชิงศิลปะการแสดงแล้ว ยังก่อให้เกิดคุณประโยชน์ได้อย่างดียิ่งในวงการศึกษา คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลงถึงแก่กรรมด้วยโรคระบบหายใจล้มเหลว เมื่อวันจันทร์ที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่ครูอันยิ่งใหญ่เป็นครั้งสุดท้าย ด้วยการอุทิศศพให้โรงพยาบาลศิริราช เพื่อการศึกษาทางการแพทย์

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย



พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์ที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 4 ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชการที่ 1 กับกรมสมเด็จพระอัมรินทรามาตย์ พระบรมราชินี
พระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทขับร้อง เป็นวรรณคดีที่มีชื่อเสียงหลายเล่ม เช่น อิเหนา รามเกียรติ์ ขุนช้างขุนแผน ทรงมีความ
สามารถในการสีซอสามสายเป็นอย่างดียิ่ง และมีซอคู่พระหัตถ์ชื่อว่า "ซอสายฟ้าฟาด" และได้ทรงพระราชนิพนธ์เพลงที่มีชื่อเสียงมากคือ
"บุหลันลอยเลื่อน" ทรงเป็นผู้ตรากฏหมาย "ตราภูมิคุ้มกัน" ยกเว้นภาษีสวนมะพร้าว หากส่วนใดมีกะโหลกมะพร้าวทำซอสามสายได้ ให้ยกเว้นภาษี นับเป็นการส่งเสริมพันธุ์ มะพร้าวเพื่อการดนตรีไทย
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงครองราชสมบัติเป็นเวลาทั้งสิ้น 15 ปี สวรรคต เมื่อวันที่ 21 กรกฏาคม 2367พระชนมายุ 56 พรรษากับ 5 เดือน

นางเจริญใจ สุนทรวาริน



นางเจริญใจ สุนทรวาริน เกิดเมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๕๘ เป็นศิลปินผู้เชี่ยวชาญคีตศิลป์และดุริยางคศิลป์ เพียบพร้อมด้วยความรู้ลึกซึ้งในปรัชญาของดนตรีไทย อันเกี่ยวเนื่องด้วยโบราณราชประเพณี วรรณคดี ภาษา และสุนทรียภาพแห่งการผสมผสานระหว่างท่วงทำนองเพลงกับบทร้องและอารมณ์อันสมจริง เป็นผู้รอบรู้ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติการดนตรีไทย ทั้งในการขับร้อง การบรรเลงเดี่ยวเครื่องดนตรีตลอดจนการประสมวงและการใช้ดนตรีในในกิจกรรมทุกรูปแบบ สามารถอธิบายเหตุผลในการปฏิบัติการดนตรีนั้นๆ ได้อย่างเด่นชัด และด้วยความรู้ความสามารถที่ได้สั่งสมมาจากบรรพบุรุษในสายสกุล “ สุนทรวาทิน ” นับตั้งแต่เยาว์วัย ได้ทำหน้าที่นักร้องนักดนตรี และแสดงนาฏศิลป์ทั้งในราชสำนักและสถาบันอันทรงเกียรติตลอดมา เคยได้รับรางวัลนักร้องยอดเยี่ยมระดับชาติ และคงความสามารถนั้นให้เป็นประโยชน์ต่อวงการดนตรีไทยได้อย่างต่อเนื่อง มีผลงานการบันทึกเสียงไว้เป็นตัวอย่างเป็นสมบัติของชาติจำนวนมากได้ทำหน้าที่อาจารย์สอนดนตรีและขับร้องตลอดระยะเวลากว่า ๕๐ ปี ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงขั้นอุดมศึกษา ได้รับปริญญาศิลปะศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาดุริยางคศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นับว่าเป็นศิลปินที่ควรแก่การภาคภูมิใจของชาติ
นางเจริญใจ สุนทรวาริน สมควรได้รับเกียรติการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (คีตศิลป์)ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๓๐

นายประสิทธิ์ ถาวร


นายประสิทธิ์ ถาวร เกิดเมื่อวันที่ ๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๖๔ ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นดุริยางค์ศิลปิน “ประจำสำนัก” แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ข้าราชการบำนาญกรมศิลปากร ภาคีสมาชิก ราชบัณฑิตยสถาน (สาขาศิลปะ) กรรมการที่ปรึกษาหลักสูตรวิชาดุริยางค์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นศิลปินผู้เชี่ยวชาญในวิชาดนตรีไทย ทั้งในด้านทฤษฎี ปฏิบัติการประพันธ์เพลง และปรัชญาสุนทรียศาสตร์ มีความแตกฉานในศาสตร์แห่งดนตรีไทยอย่างลึกซึ้ง มีความสามารถสูงส่งในการบรรเลงระนาดเอก เป็นที่กล่าวขานและยกย่องในหมู่ผู้ชำนาญการดนตรีไทยว่าเป็นผู้มีความสามารถบรรเลงระนาดเอกได้ทุกรสและทุกรูปแบบยากที่จะหาผู้ใดเสมอเหมือน เป็นเลิศทั้งในเชิงบรรเลง รวมวง และการบรรเลงเพลงเดี่ยว มีความรู้ความชำนาญอย่างดียิ่งในการปรับวงดนตรีไทย ตลอดจนการวิเคราะห์ดนตรีไทย มีความสามารถยอดเยี่ยมในการอธิบายและพรรณนา เชิงเปรียบเทียบโดยใช้วิธีการอุปมาอุปมัย จนผู้ฟังสามารถเข้าใจเรื่องดนตรีอันล้ำลึกได้อย่างกระจ่าง เป็นผู้เชี่ยวชาญในการถ่ายทอดความรู้ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ ไม่ว่าเป็นผู้รับจะเป็นคนกลุ่มอายุใดก็ตาม ด้วยความรู้ความสามารถที่ได้สั่งสมมาแต่เยาว์วัย ในแวดวงของครู อาจารย์ ญาติและมิตร กอปรกับการที่ได้เป็นศิษย์เอกแห่งสำนักดนตรี หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปะบรรเลง) และด้วยความช่างสังเกตศึกษาปฏิบัติทดลองด้วยตนเองจนแตกฉาน

ทำให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ศิลปินทั้งในเชิงการประกอบอาชีพการอนุรักษ์เผยแพร่ตลอดจนการถ่ายทอดความรู้ให้แก่อนุชนได้เป็นอย่างดี และทำหน้าที่เป็นครูดนตรีไทยเป็นเวลานานเกือบ ๕๐ ปี มีศิษย์เป็นจำนวนมากทั่วพระราชอาณาจักร และเป็นผู้เริ่มจัดการบรรเลงเพลงไทยแบบมหาดุริยางค์ตามความประสงค์ของอาจารย์ เป็นผู้มั่นในคุณธรรม ได้ประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่นักดนตรีไทยอย่างสม่ำเสมอ
นายประสิทธิ์ ถาวร สมควรได้รับการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๓๑

นายเฉลิม ม่วงแพรศรี


นายเฉลิม ม่วงแพรศรี เกิดเมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๔๘๔ ที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร ปัจจุบัน อายุ ๖๑ ปี
บิดาชื่อนายช่วง ม่วงแพรศรี ถึงแก่กรรม มารดาชื่อ นางพร้อม ม่วงแพรศรี อาชีพค้าขาย เป็นบุตรเพียงคนเดียว
เมื่อนายเฉลิม ม่วงแพรศรีได้เริ่มฝึกซอด้วงกับครูจำลอง อิศรางกูร โดยเริ่มต่อเพลงแป๊ะ สามชั้น เพลงสาลิกาชมเดือน เพลงสารถี เป็นต้น ต่อมานายเฉลิม ม่วงแพรศรีได้มาพบกับหม่อนเจ้าศรีอัปสร วรวุฒิ ศักดิ์เป็นหลานพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านได้เล่นดนตรีไทยอยู่ในวงเตชนะเสนีย์ ท่านได้นำนายเฉลิม ม่วงแพรศรี มาพบครูโองการ กลีบชื่น ซึ่งท่านเป็นครูที่คอยดูแลวงเตชนะเสนีย์อยู่ จึงทำให้นายเฉลิม ม่วงแพรศรีได้ศึกษาและฝึกหัดอยู่กับ ครูโองการ กลีบชื่น เพลงแรกที่ต่อคือเพลงทะแย ซึ่งเป็นเพลงโหมโรง จากนั้นได้ต่อเพลงอีกเช่น เพลงมอญรำดาบ เพลงนางครวญ เพลงสุดสงวน เป็นต้น ครูโองการ กลีบชื่น เป็นครูคนแรกที่ให้โอกาสนายเฉลิม ม่วงแพรศรี ออกงานบรรเลงดนตรีที่สถานีวิทยุหนึ่ง ป.น.เชิงสะพานพุทธ ทำให้นายเฉลิม ม่วงแพรศรี ได้ฝึกฝนและหาประสบการณ์ทางเล่นซอด้วงจากครูโองการ กลีบชื่น ไว้เป็นจำนวนมาก หลังจากที่ได้ฝึกฝนซอด้วงจากครูโองการ กลีบชื่น แล้วจึงได้มาพบกับพระยาภูมิเสวิน ได้ฝึกหัดซอสามสายอย่างจริงจัง ได้ต่อเพลงขับไม้บัณเฑาะว์ ตับต้นเพลงฉิ่ง เพลงสุรินทราหู เป็นต้น ต่อจากนั้นได้รู้จัก ครูหลวงไพเราะ เสียงซอ ครูเทวาประสิทธิ์ พาทย์โกศล ครูประเวช กุมุท แต่ไม่ได้มีโอกาสต่อเพลงโดยตรง เพียงแต่ใช้วิธีฟังเสียงและนำมาเป็นแนวทางฝึกฝนจนมีความชำนาญ เช่น เพลงสุรินทราหู เพลงแขกมอญ เป็นต้น

นายถวิล อรรถกฤษณ์


นายถวิล อรรถกฤษณ์ เป็นบุตรคนที่ ๕ ในจำนวน ๕ คน ของนายใย และนางใหญ่ อรรถกฤษณ์ เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๔๕๙ สมรสกับนางบุญหลง หิรัญพฤกษ์ มีบุตรและธิดารวม ๖ คน นายถวิล อรรถกฤษณ์ เมื่อเยาววัยก็เริ่มฝึกหัดดนตรีเพราะบรรพบุรุษเป็น นักดนตรีมาตั้งแต่รุ่น ปู่ ย่า และตายาย จนถึงรุ่นบิดา มารดาของนายถวิลเอง ทำให้เกิดความรักดนตรีไทยตั้งแต่ยังเป็นเด็ก
นายถวิล อรรถกฤษณ์ เป็นครู เป็นศิลปิน ซึ่งได้รับการถ่ายทอดอย่างไรก็จะอบรมสั่งสอนบุตรหลานและลูกศิษย์อย่างมีระเบียบแบบแผนตามที่ครู อาจารย์วางไว้ให้ทุกประการ เช่น การเขียนโน๊ตเพลง การแต่งเพลงขึ้นมาใหม่ ทั้งทางร้อง ทำนองดนตรี และบทประพันธ์ พยายามคงรูปแบบเดิมไว้อย่างไพเราะ
จนถึงปัจจุบันนายถวิล อรรถกฤษณ์ จะอายุครบ ๘๖ ปีแล้วก็ ยังเปิดสอนดนตรีไทยให้กับบุคคลภายนอกที่รักการแสดงดนตรีไทย โดยมิได้ย่อท้อแต่อย่างไร มุ่งมั่น ละคิดเสมอว่าจะทำนุบำรุงรักษาศิลปวัฒนธรรมทางด้านดนตรีไทยซึ่งเป็นมรดกของแผ่นดินให้คงอยู่ตลอดไป
นายถวิล อรรถกฤษณ์ เป็นครูดนตรีที่มีศิษย์มากมาย ทำให้ดนตรีไทยไม่เสื่อมสลาย โดยลูกศิษย์เหล่านี้ช่วยนำออกไปเผยแพร่ อนุรักษ์ ในหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคโรงเรียนหลายแห่งได้เชิญให้นายถวิล อรรถกฤษณ์ไปสอนอยู่เป็นประจำความสามารถทางด้านดนตรีไทยของนายถวิล อรรถกฤษณ์ เป็นที่ชื่นชมของบุคคลทั่วไป และได้รับเชิญให้ไปบรรเลงตามงานพิธีต่าง ๆ อยู่เสมอ

นายจำเนียร ศรีไทยพันธ์



นายจำเนียร ศรีไทยพันธ์ เกิดเมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๖๓ ที่จังหวัดนครปฐม เป็นบุคคลที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นศิลปินชั้นครู ที่มีความสามารถทางศิลปะการแสดงดนตรีไทยเป็นเลิศ โดยเฉพาะการร้องเพลงไทยและการเล่นเครื่องเป่า (ปี่และขลุ่ย) นับว่าเป็นผู้มีความสามารถสูงยิ่งคนหนึ่ง จนได้รับการยอมรับของวงการดนตรีไทยและนักดนตรีชาวต่างประเทศว่าเป็นเลิศด้านศิลปะการระบายลมในลำคอที่มีเทคนิกต่าง ๆ อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง นอกจากเครื่องเป่าแล้ว นายจำเนียร ศรีไทยพันธ์ ยังสามารถบรรเลงเครื่องดนตรีไทยได้ทุกชนิด ทั้งเครื่องสาย เครื่องตี เครื่องหนัง และสามารถบรรเลงเครื่องเป่าดนตรีสากลได้ เช่น ปี่คลาริแน็ต ทรัมเป็ต ฟลู้ท เป็นต้น ทั้งยังมีความสามารถพิเศษอื่น ๆ อีกมากมาย อาทิการประพันธ์เพลง สามารถประพันธ์เพลงได้ทั้งเพลงไทยเพลงลูกทุ่ง เพลงไทยสากล เพลงมาร์ช สามารถขับเสภา พากย์โขน เป็นผู้หนึ่งที่ได้รับการครอบครูและวิชาการอ่านโองการดนตรีไทย ที่มีลีลาน้ำเสียงนุ่มนวลก้องกังวาล ชวนให้ผู้เข้าร่วมพิธีเข้าถึงความศักดิ์สิทธิ์แห่งดนตรีไทยแก่ศิษย์ด้วยใจรัก มีสัยเรียบง่าย สมถะ และถ่อมตน นายจำเนียร ศรีไทยพันธ์ จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๖

นางเบ็ญจรงค์ ธนโกเศศ


นางเบ็ญจรงค์ ธนโกเศศ เกิดเมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๔๖๑ ที่กรุงเทพมหานคร เรียนรู้เรื่องดนตรีไทยมาตั้งแต่อายุ ๕ ขวบ มีความถนัดเครื่องมือซอด้วงมากเป็นพิเศษ โดยได้รับสืบสานทางเพลงจากครูดนตรีไทยคนสำคัญ ๆ ในวงการดนตรีไทยจำนวนมาก อาทิ ครูไปล่ วนเขจร, ครูปลั่ง วนเขจร, ครูเชื้อ, ครูละม่อม อิศรางกูร ณ อยุธยา นอกจากนี้ยังได้ฝึกฝนดนตรีไทยกับเพลงสายหลวงประดิษฐ์ไพเราะ เพลงสายจางวางทั่วพาทยโกศล, มีความเชี่ยวชาญเพลงละครประเภทต่าง ๆ เพลงสำหรับบรรเลงการเชิดหุ่นกระบอกเพลงแอ่วเคล้าซอ เพลงหน้าพาทย์ที่ใช้ในการละคร เพลงตับ เพลงเถา ฯลฯ ใช้ความรู้ความสามารถถ่ายทอดดนตรีไทยแก่สถาบันการศึกษาจำนวนมาก และที่ธนาคารกสิกรไทย ได้รับพระมหากรุณาธิคุณถวายการสอนซอด้วงแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นศิลปินและครูซอด้วงที่สีซอได้อ่อนหวาน ไพเราะจับใจ เป็นผู้เชี่ยวชาญการสีซอที่มีฝีมือเป็นเลิศของแผ่นดินที่ยังมีชีวิตและยังถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์จนถึงปัจจุบัน นางเบ็ญจรงค์ ธนโกเศศ จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๔๑

สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์


สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงเป็นราชโอรสองค์ที่ 62 ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ประสูติเมื่อวันอังคารเดือน 6 ขึ้น 11 ค่ำ ปีกุน ตรงกับวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2406 พระมารดาคือ พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย (ทรงพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าจิตรเจริญ)
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงมีชายา 3 ท่าน ท่านแรกคือ หม่อมราชวงศ์ปลื้มศิริวงศ์ มีธิดาด้วยกัน 1 องค์ คือ หม่อมเจ้าหญิงปลื้มจิตร (เอื้อย จิตรพงศ์) ท่านที่ 2 ได้แก่หม่อมมาลัย เสวตามร์ มีโอรสด้วยกัน 2 องค์ คือ หม่อมเจ้าชายอ้าย และหม่อมเจ้าชายยี่ และท่านที่ 3 ได้แก่ หม่อมราชวงศ์โต งอนรถ (ธิดาหม่อมเจ้าหญิงแดง งอนรถ) มีพระโอรสธิดารวมด้วยกัน 6 พระองค์ คือ หม่อมเจ้าสาม หม่อมเจ้าประโลมจิตร (อี่ ไชยันต์) หม่อมเจ้าดวงจิตร์ (อาม) หม่อมเจ้ายาใจ (ไส) หม่อมเจ้าเพลารถ (งั่ว) และหม่อมเจ้ากรณิกา (ไอ)
พระปรีชาสามารถและผลงานด้านดนตรีไทย ทรงรอบรู้ในกิจการและวิชาการหลายสาขาวิชา เช่น ทรงรอบรู้โบราณคดี การช่างศิลปะแบบไทย ทรงศึกษาเรื่องประเพณีต่างๆ ทางตะวันออกและทรงศึกษาทางดุริยางค์ศิลป์ไทย จนมีความรู้ความสามารถอย่างดี
ทางด้านดุริยางค์ศิลป์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์เพลงต่างๆ ไว้หลายเพลง ได้แก่ เพลงสรรเสริญพระบารมี ต่อมารัชกาลที่ 6 จึงได้ทรงพระราชนิพนธ์แก้ไขใหม่และโปรดเกล้า ให้ใช้ร้องโดยทั่วไป เพลงมหาชัยแบบสากล และเพลงไทย เช่น เพลงเขมรไทรโยค ช้าประสม

สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต


ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และพระนางเจ้าสุขุมมาลมารศรี พระราชเทวี ประสูติในพระบรมมหาราชวังเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2424 นับเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าชายชั้นสูงสุดเรียงตามพระชนมายุเป็นอันดับที่ 3 รองจากสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ และสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธทรงศึกษาวิชาการชั้นต้น ณ โรงเรียนสวนกุหลาบ จนถึง พ.ศ. 2434 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ทรงกรมเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนมไหสุริยสงขลา ต่อมา พ.ศ. 2438 ทรงได้เสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ แล้วทรงย้ายไปเรียนวิชาทหารบกในประเทศเยอรมันนีเมื่อ พ.ศ. 2439 ศึกษาอยู่ราว 6 ปีเศษ เรียนสำเร็จสอบได้คะแนนยอดเยี่ยม แล้วเสด็จมารับราชการในปี พ.ศ. 2446 พระชันษา 22ปี
ในด้านดนตรี ทูลกระหม่อมบริพัตรฯ ได้รับการยกย่องว่า ทรงเป็นนักดนตรี นักแต่งเพลงยอดเยี่ยมของกรุงรัตนโกสินทร์ นับเป็นคนไทยคนแรกที่แต่งเพลงไทยสากลและเป็นคนไทยคนแรกที่เรียนรู้โดยแยกเสียงประสานถูกต้องตามหลักสากลนิยม ดนตรีไทยที่ทรงคือ สีซอ ได้ตั้งแต่ยังมิได้โสกันต์ (ชันษาน้อยกว่า 10 ปี) เมื่อเสด็จกลับมาเมืองไทยใน พ.ศ. 2446 ได้ทรงสร้างวังบางขุนพรหม และหาวงปี่พาทย์มาประจำวง เดิมทีเดียวทรงใช้วงดนตรีจากอัมพวา

พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม


พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม

กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ เป็นพระโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดารมรกต ประสูติเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2425 ตรงกับวันพุธ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 10 ปีมะเส็ง รัตนโกสินทร์ศก 101 ทรงศึกษาในประเทศอังกฤษ เมื่อเสด็จกลับได้ทรงเข้ารับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงเกษตราธิการ ในปี พ.ศ. 2451 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ เป็น กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม
ความสามารถและผลงาน
กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม ทรงสนพระทัยดนตรีไทยมากถึงกับมีวงปีพาทย์วงหนึ่งเรียกกันว่า “วงพระองค์เพ็ญ” ทรงเป็นนักแต่งเพลงมราสามารถพระองค์หนึ่ง โดยได้ทรงแต่งเพลง “ลาวดวงเดือน” ซึ่งเป็นเพลงที่นิยมกันแพร่หลายในปัจจุบัน
สำหรับเพลงลาวดวงเดือนนี้ พระองค์ท่านแต่งขึ้นต้องการให้มีสำเนียงลาว เนื่องจากโปรดทำนองและลีลาเพลง “ลาวดำเนินทราย” เมื่อคราวที่เสด็จตรวจราชการ ภาคอีสาน ระหว่างที่ประทับแรมอยู่ตามทางจึงทรงแต่งเพลงลาวดวงเดือนขึ้น เพื่อให้คู่กับเพลงลาวดำเนินทราย ประทานชื่อว่า “เพลงลาวดำเนินเกวียน” ได้มีผู้กล่าวว่า แรงบันดาลใจที่พระองค์แต่งนั้นเนื่องจากผิดหวังในความรัก คือ เมื่อพระองค์จบการศึกษาจากประเทศอังกฤษ เสด็จขึ้นไปเที่ยวเชียงใหม่ และได้พบกับเจ้าหญิงชมชื่น ธิดาเจ้าราชสัมพันธวงศ์ พระองค์สนพระทัยมากจนถึงกับให้ผู้ใหญ่ในมณฑ,พายัพเป็นเถ้าแก่เจรจาสู่ขอแต่ได้รับคำตอบจากเจ้าราชสัมพันธวงศ์ว่าขอให้เจ้าหญิงชมชื่นอายุ 18 ปีก่อน เพราะขณะนั้นอายุเพียง 16 ปี และขอให้ได้รับพระบรมราชนุญาตด้วย เมื่อกรมหมื่นพิไชยมหินทโรดมกลับถึงกรุงเทพฯ ก็ได้รับการทัดทานจากพระบรมวงศานุวงศ์มาก พระองค์ได้รับความผิดหวัง จึงระบายความรักด้วยความอาลัยลงในพระนิพนธ์บทร้อง “เพลงลาวดวงเดือน” ซึ่งเป็นเพลงที่มีความหมายไพเราะอ่อนหวามจับใจผู้ฟังมาจนทุกวันนี้
พระองค์สิ้นพระชนม์ (ประชวนพระโรคปอด) เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2452 มีพระชนมายุเพียง 28 พรรษา